1 ลำตัว (Fuselage) เป็นชิ้นส่วนที่กำหนดตำแหน่งติดตั้งของปีก ชุดหางและส่วนประกอบอื่นๆ
2.ปีก (Wing) เป็นชิ้นส่วนหลักที่ใช้ในการสร้างแรงยก (Lift) ให้กับเครื่องบิน
3. แพนหางดิ่ง (Fin/ Vertical Stabilizer) เป็นส่วนประกอบที่ให้เสถียรภาพในแนวดิ่ง (Yaw) กับเครื่องบิน
4. แพนหางระดับ (Stabilizer/ Horizontal Stabilizer) เป็นส่วนประกอบที่ให้เสถียรภาพในแนวระดับ (Pitch) กับเครื่องบิน
เทคนิคการร่อนเครื่องร่อน
เคล็ดลับในการร่อนเครื่องร่อนให้ได้ดีคือ การสังเกตลักษณะของเครื่องร่อนอย่างละเอียด จากการมองจากทางด้านหน้า (ส่วนหัว) ตรวจสอบและปรับแต่งส่วนที่โค้งงอและบิด ให้ตรงตามแบบการตรวจสอบเครื่องร่อน จากการสังเกตคร่าวๆ
1. ลำตัวไม่บิด โค้ง-งอ
2. ปีกซ้าย-ขวาตรงอยู่ในแนวเดียวกันและปีกทั้งสองข้างมีมุมปะทะและมุมยกเท่ากัน
3. ปีกไม่บิด-งอ
4. แพนหางและหางดิ่งไม่บิด-งอ
ตรวจสอบความผิดพลาดเหล่านี้และแก้ไขให้ถูกต้องอย่างระมัดระวัง ตรวจสอบเครื่องบินจากทางด้านหลังด้วยวิธีการเดียวกัน
ตรวจสอบเครื่องบินจากทางด้านข้างว่าปีกทั้งสองข้างอยู่ในแนวเดียวกันหรือไม่ หากปีกทั้งสองข้างไม่ขนานและอยู่ในแนวเดียวกันแสดงว่าปีกงอหรือบิด
วิธีแก้ไขชิ้นส่วนไม้ที่บิด-งอ แก้ได้โดยการนำมาพรมน้ำลงบนชิ้นส่วนนั้น แล้วดัดขืนไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการบิด-งอค้างไว้ รอจนไม้แห้งสนิท
การบินทดสอบ
สาเหตุที่จะทำให้เครื่องร่อนบินได้ไม่ดีคือการที่เครื่องร่อนไม่ได้รับการตรวจสอบและปรับแต่งให้ถูกต้อง หลังจากสร้างเครื่องร่อนแล้วสิ่งที่สำคัญที่ไม่ควรละเลยนั่นคือการบินทดสอบและปรับแต่งอย่างระมัดระวัง
หากทำการบินทดสอบอย่างต่อเนื่องและทำการปรับแต่งเครื่องบินอย่างประณีต ในที่สุดเราก็จะได้เครื่องร่อนที่บินได้ดีและสมบูรณ์แบบทุกครั้งที่ทำการบิน
ในการทำการบินทดสอบให้พุ่งเครื่องร่อนทวนลมและรักษาแนวระดับอย่าให้เครื่องร่อนเชิดขึ้น ให้พุ่งเครื่องร่อนในลักษณะกดหัวของเครื่องร่อนเล็กน้อยแล้วพุ่งไปข้างหน้าเบาๆ
จะทำการปรับแต่งเครื่องร่อนได้อย่างไร?
- เมื่อเครื่องร่อนเลี้ยวไปทางซ้าย-ขวา
- เมื่อเครื่องร่อนเชิดขึ้นหรือกดหัวลง
สิ่งที่ต้องทำในการบินทดสอบก็คือการสังเกตลักษณะการบินของเครื่องร่อนว่ามีอาการข้างต้นหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวให้ทำการปรับแต่งดังต่อไปนี้
ในการบินทดสอบอย่างแรกที่ต้องสังเกตคือเครื่องร่อนบินตรงหรือไม่ เลี้ยวซ้าย-ขวาหรือไม่ หากมีอาการบินไม่ตรงเลี้ยวซ้ายหรือขวาให้ทำการปรับแต่งที่บริเวณชายหลังปีกส่วนปลาย (ปีกเล็กแก้เอียง, Aileron) และบริเวณส่วนชายหลังฟิน (Rudder)
สิ่งที่ต้องสังเกตอย่างที่สองก็คืออาการเชิดหัวขึ้นหรือกดหัวลงอย่างรวดเร็ว เครื่องร่อนที่สมบูรณ์แบบจะต้องสามารถบินได้ในแนวตรงและค่อยๆลดระดับลงอย่างช้าๆ หากเครื่องร่อนเกิดอาการเชิดหัวขึ้นหรือกดหัวลงอย่างรวดเร็วให้ทำการปรับแต่งที่บริเวณชายหลังของสแตป (Elevator) หรือตรวจสอบสมดุลของเครื่องร่อนให้เหมาะสม ซึ่งรายละเอียดจะกล่าวถึงต่อไป เมื่อทำการปรับแต่งเครื่องร่อนเรียบร้อยแล้วอาการเหล่านี้จะหายไป เครื่องร่อนจะบินตรงในแนวระดับอย่างสมบูรณ์
การหาสมดุลของเครื่องร่อนถือเป็น ขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการร่อน เครื่องร่อน ที่ประกอบอย่างประณีตสวยงามชิ้นส่วนทุกชิ้น ได้รับการปรับแต่งจนสมบูรณ์แต่หากไม่ได้มี การปรับสมดุลให้จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง (Center of Gravity, C.G.) อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เหมาะสมแล้วเครื่องร่อนนั้นก็จะไม่สามารถแสดงสมรรถนะที่ดีได
จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง (Center of Gravity, C.G.) ของเครื่องร่อนแต่ละลำก็มีตำแหน่งที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการออกแบบและวัตถุประสงค์ในการบิน แต่ส่วนมากแล้วเครื่องร่อนมักมีจุด C.G. อยู่ที่บริเวณ 1/3 ของความกว้างปีก (Chord) เรามาดูวิธีการปรับสมดุลเครื่องร่อน โดยสมมติว่าเครื่องร่อนลำนี้มีจุด C.G. อยู่ที่ 1/3 ของความกว้างปีก
การปรับสมดุลเครื่องร่อน
1. ติดน้ำหนักถ่วงที่บริเวณส่วนหัวของเครื่องร่อน อาจจะเป็นตะกั่วหรือดีบุกแผ่น ดินน้ำมัน หรือเศษไม้จากการประกอบเครื่องร่อนก็ได้
2. หาสมดุลคร่าวๆ โดยการยกเครื่องร่อนตรงจุด C.G. บริเวณใต้ปีก (1/3 ของความกว้างปีก) แล้วดูว่าแนวลำตัวเครื่องร่อนอยู่ในแนวระดับหรือไม่ หากอยู่ในแนวระดับแล้วใช้กาวเพียงเล็กน้อยติดน้ำหนักถ่วงกับส่วนหัวของเครื่องร่อน (อย่าเพิ่งติดกาวจนแน่นในขั้นตอนนี้เราต้องทดสอบบินก่อน)
3. ในกรณีที่เครื่องร่อนยังไม่ได้ระดับให้ปรับสมดุลดังต่อไปนี้
3.1 ถ้าเครื่องร่อนหัวหนักเกินไป ให้เลื่อนน้ำหนักถ่วงไปทางส่วนหางหรือลดปริมาณของน้ำหนักถ่วงลงตามรูป
3.2 ถ้าเครื่องร่อนหัวเบาเกินไป ให้เลื่อนน้ำหนักถ่วงไปทางส่วนหัวหรือเพิ่มปริมาณของน้ำหนักถ่วง
หลังจากที่เราได้ทำการปรับหาสมดุลอย่างคร่าวๆไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เป็นการร่อนทดสอบเพื่อปรับหาสมดุลในการบินที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนอื่นเราต้องหาสถานที่ที่กว้างมากพอ ในการร่อนให้ตรวจสอบทิศทางลมโดยเก็บเศษหญ้าจากพื้นสนามขึ้นมาแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สังเกตทิศทางของกระแสลม จากนั้นทำการร่อนเครื่องร่อนตามลมหรือร่อนเครื่องร่อนไปในทิศทางเดียวกับทิศทางลม แล้วทำการปรับสมดุลดังต่อไปนี้
ลักษณะการร่อนที่เครื่องร่อนส่วนหัวเบาเกินไป
แก้โดยการเพิ่มปริมาณน้ำหนักถ่วงหรือเลื่อนน้ำหนักถ่วงให้เคลื่อนที่ไปด้านหัวอีกเล็กน้อย
ลักษณะการร่อนที่ดี
การควบคุมเครื่องร่อนให้ร่อนไปในทิศทางที่เราต้องการ ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่หรือยากเกินความสามารถเลยหากเรารู้หลักและวิธีการที่ถูกต้อง เราสามารถควบคุมทิศทางการร่อนของเครื่องร่อนหรือการบินของเครื่องบินโดยใช้ หลักการทางอากาศพลศาสตร์หรือใช้แรงของอากาศนั่นเอง ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักพื้นบังคับของเครื่องร่อนหรือเครื่องบิน รวมทั้งทิศทางในการเคลื่อนที่ของเครื่องบินในแนวแกนต่างๆ ซึ่งแกนหรือมิติในการเคลื่อนที่ของเครื่องบินแบ่งเป็น 3 แกนหรือ 3 มิติดังนี้
1. การเคลื่อนที่รอบแกน Roll หรือการหมุนตัว
2. การเคลื่อนที่รอบแกน Pitch หรือการปักเงย
3. การเคลื่อนที่รอบแกน Yaw หรือการเลี้ยว
การควบคุมการบินด้วยพื้นบังคับ
อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นการที่เราจะทำให้เครื่องบินหรือเครื่องร่อนเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เราต้องการนั้น เราสามารถทำได้โดยใช้แรงของอากาศเป็นตัวช่วยโดยนักบินทำหน้าที่ควบคุมพื้นบังคับต่างๆ เครื่องบินหรือเครื่องร่อนก็สามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆได้แล้ว พื้นบังคับที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของเครื่องบินหรือเครื่องร่อนมีดังนี้
1. ปีกเล็กแก้เอียง (Aileron) เป็นพื้นบังคับที่อยู่บริเวณชายหลังปีกของเครื่องร่อนหรือเครื่องบินทำให้เครื่องบินหมุนควงหรือเคลื่อนที่รอบแกน Roll ลักษณะการเคลื่อนที่ของปีกเล็กแก้เอียงจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ เช่น การบังคับให้เครื่องบินหมุนควงทางซ้าย ปีกเล็กแก้เอียงทางด้านซ้ายจะต้องเคลื่อนที่ขึ้นและด้านขวาจะต้องเคลื่อนที่ลง และในทางตรงกันข้ามการบังคับให้
เครื่องบินหมุนควงทางขวา ปีกเล็กแก้เอียงทางด้านขวาจะต้องเคลื่อนที่ขึ้นและด้านซ้ายจะต้องเคลื่อนที่ลง
2. หางเสือขึ้นลง (Elevator) เป็นพื้นบังคับที่อยู่บริเวณชายหลังแพนหางระดับของเครื่องร่อนหรือเครื่องบินทำให้เครื่องบินปักหัวลงหรือเงยขึ้นหรือเคลื่อนที่รอบแกน Pitch การบังคับให้เครื่องบินปักหัวลง หางเสือขึ้นลงจะต้องเคลื่อนที่ลงและการบังคับให้เครื่องบินเงยขึ้นหางเสือขึ้นลงจะต้องเคลื่อนที่ขึ้น (ดูภาพประกอบ)
3. หางเสือเลี้ยว (Rudder) เป็นพื้นบังคับที่อยู่บริเวณชายหลังแพนหางดิ่งของเครื่องร่อนหรือเครื่องบินทำให้เครื่องบินเลี้ยวซ้าย-ขวาหรือเคลื่อนที่รอบแกน Yaw การบังคับให้เครื่องบินเลี้ยวซ้าย หางเสือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น